ประเภทข้อมูลต่างๆ

ก่อนที่จะไปต่อกันเรื่องการใช้งาน จะขออธิบายกันเรื่องประเภทต่างๆ ของข้อมูลในภาษา Ruby ก่อน ทั้งนี้จะรวมถึงประเภทที่ได้กล่าวถึงไปแล้วก่อนหน้านี้ เช่นตัวเลขและสตริง เพื่อเป็นการทบทวนความรู้ไปด้วย

ประเภทข้อมูลทุกอย่างสามารถเก็บไว้ในตัวแปร เพื่อนำมาใช้ซ้ำ หรือเปลี่ยนค่าในภายหลังได้

ตัวเลข

ตัวเลขทั้งแบบจำนวนเต็ม (Integer หรือ Fixed) และตัวเลขแบบทศนิยม (Float หรือ Double หรือ Decimal) ใช้ในการคำนวณทางคณิตศาสตร์ต่างๆ

สตริง

สตริง หรือชุดขักขระ ไว้เก็บตัวอักษร ครอบด้วย " " หรือ ' '

ค่าความจริง / เท็จ (Boolean : บูเลียน)

Boolean เป็นค่าความจริงหรือเท็จตามแบบตรรกศาสตร์ ซึ่งแทนด้วย

  • true (จริง)

  • false (เท็จ

มักใช้ในการเขียนเงื่อนไขเช่น if / else ซึ่งจะสอนในบทถัดไป

อาร์เรย์ (Array)

ใช้เก็บข้อมูลแบบกลุ่ม เช่นรายซื่อของคนหลายๆ คน หรือเก็บค่าสีต่างๆ เป็นต้น

แฮช (Hash)

ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบ Key-Value เช่น {name: "Ruby", version: 3.0} คือข้อมูลที่ name ชี้ไป "Ruby" , version ชี้ไป 3.0

nil

nil เปรียบเสมือน "ว่างเปล่า" หรือ "ไม่มีข้อมูล" (ภาษาอื่นๆ มักใช้คำว่า null)

ในบทหน้าจะเริ่มลงรายละเอียดจากข้อมูลประเภทบูเลียน และวิธีการใช้งานกับการเขียนเงื่อนไข if-else

Last updated